แชร์

Young Talks เครือข่ายพลเมืองนักสื่อสารสุขภาวะ

อัพเดทล่าสุด: 29 เม.ย. 2025
7 ผู้เข้าชม

Young Talks เครือข่ายพลเมืองนักสื่อสารสุขภาวะ

ประเด็น the safe place stage (ความเงียบที่ไม่ได้ยิน)
1. นางสาว ปาริชาติ แทบทาม ( พิม )
2. นางสาว สุวพัชร ปาปะเก ( เอิงเอย )
กลุ่ม โรงเรียนบัวใหญ่


       ในโรงเรียนมีเด็กจำนวนหนึ่งที่ขาดโอกาสและพื้นที่ในการแสดงออก ทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทางแกนนำโครงการจึงเล็งเห็นปัญหานี้ เราเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้เลือกกิจกรรมที่สนใจ เช่น ดนตรีโปงลาง ดนตรีสากล cover dance ระบายสี/เพ้นท์กระถาง การหากิจกรรมจากภายนอกมาให้น้องๆ ได้ลองทำ เช่น การแข่งขันกีฬาต่างๆ พร้อมจัดเวทีแสดงผลงานและพาน้องๆ ไปโชว์ในงานต่างๆ เพื่อให้พวกเขาได้เห็นคุณค่าในตัวเอง
        เด็กๆหลายคนที่เคยเงียบหรือไม่มั่นใจ กล้าลองทำสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น พวกเขาได้เล่นดนตรี เต้น วาดรูป และแสดงออกในแบบของตัวเอง ได้เจอเพื่อนที่ชอบอะไรเหมือนกัน และมีพื้นที่ที่รู้สึกสบายใจ บรรยากาศในโรงเรียนก็ดูสนุกและเป็นกันเองขึ้น ทุกคนมีเวทีของตัวเอง ไม่ต้องเก่งที่สุด แต่แค่ได้เป็นตัวเองก็เพียงพอแล้ว


Young Talks เครือข่ายพลเมืองนักสื่อสารสุขภาวะ

ประเด็น สื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย 
บุษบาวรรณ ราชกระโทก
กลุ่ม พลเมืองอาสาราชภัฏโคราช


       พื้นที่รอบมหาวิทยาลัย เป็นที่อยู่ของนักศึกษา ประชาชน ชุมชนแออัด คนไร้บ้าน เด็ก ครอบครัว พื้นที่ของความเหลื่อมล้ำ ทางด้านการศึกษา  ที่อยู่อาศัย สุขภาวะ ภูมิคุ้มกัน ปัจจัยเสี่ยง  พลเมืองอาสา ได้ลงพื้นที่สำรวจเมือง เห็นสถานการณ์ และลุกขึ้นมาสื่อสารสร้างสรรค์ ให้ทุกคนรู้เท่าทัน สถานการณ์ปัญหา ขยะ น้ำกระท่อม บุหรี่ไฟฟ้า การศึกษา สังคม  ไร้ที่พึ่งพา คนไร้บ้าน เร่ร่อน เพื่อให้คนในสังคมรู้เท่าทันสื่อ และปฏิบัติการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม  เพื่อสังคมที่ดี มีสุขภาวะที่ดี

       พลเมืองอาสา (Volunteer Citizens) มีบทบาทสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยการลงพื้นที่สำรวจและสื่อสารปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น ปัญหาขยะ น้ำกระท่อม บุหรี่ไฟฟ้า การศึกษา และสังคมที่มีคนไร้ที่พึ่งหรือคนเร่ร่อน การทำงานเหล่านี้ ช่วยให้การรับรู้และความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อยู่ในระดับสูงขึ้น

1. การสื่อสารสร้างสรรค์: พลเมืองอาสามักใช้สื่อสังคมและกิจกรรมต่าง ๆ ในการเผยแพร่ข้อมูล เพื่อให้สังคมรับรู้ถึงปัญหาที่รอการแก้ไข สร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของชุมชน

2. การส่งเสริมสุขภาวะ: การร่วมมือกับชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่ถูกต้อง ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่มีสุขภาวะที่ดีกว่า

3. พลเมืองอาสาเรียนรู้ : เมืองและบริเวณพื้นที่รอบมหาลัย  ได้เรียนรู้และเข้าใจ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ การไม่รู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยง เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเรื่องขยะ เรื่องพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์

4. พลเมืองอาสาลุกขึ้นมาปฏิบัติการจิตอาสาให้ชุมชน : รู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงและสุขภาวะที่ดี

       พลเมืองอาสาและชุมชน เด็ก ผู้นำชุมชน ตระหนักถึงปัญหา และช่วยกันเปลี่ยนแปลงบางอย่าง : การทำงานของพลเมืองอาสาเป็นการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคม เพื่อร่วมกันหาทางออกและสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านบวก ปัญหาเช่น ขยะ น้ำกระท่อม และคนเร่ร่อนจะได้รับการจัดการอย่างมีระบบมากขึ้น เมื่อทุกคนในสังคมร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

Young Talks เครือข่ายพลเมืองนักสื่อสารสุขภาวะ

ประเด็น ความไม่รู้สู่สุขภาพที่หายไป โทษและภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า
เจษฎา วงค์มณี
กลุ่ม นักสื่อสารสร้างสรรค์สร้างภูมิคุ้มกันบุหรี่ไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี

           ความท้าทายของประสบการทำงานด้านการรณรงค์ป้องกันปัญหาจากบุหรี่ไฟฟ้า ในสถานศึกษา เยาวชนมากมาย ที่ไม่รู้ถึงโทษและพิษภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า จนคนใกล้ตัว คนในครอบครัว ได้รับผลกระทบด้านสุขสภาพจากบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เกิดความตระหนักว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะใช้ที่ใด ใช้กับใครมันไม่ถูกต้อง มันไม่ใช่สิทธิ์ของเขา citizen หรือสิทธิตามกฎหมาย มันคือสิ่งที่เราจะต้องเคารพในกฎหมาย การที่เขาดูดบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปลอดเขาก็จริง แต่ควันที่เขาพ่นออกมาและสิ่งที่เขาถืออยู่มันผิดกฎหมาย และไม่ควรที่จะได้ทำในสถานที่ใดก็ตาม การเป็นครูจึงอยากเป็นตัวแทน สื่อสารให้มีพื้นที่ และทัศนคติที่ถูกต้องกับนักเรียน และได้มีการรวมกลุ่มกันของสภานักเรียน ในการสำรวจเก็บข้อมูลและทำแบบสอบถามของเด็กเยาวชนในโรงเรียนว่ามีความรู้เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ มีทัศนคติอย่างไร เข้าใจถูกหรือเข้าใจผิดอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า
           และสุดท้ายควรสื่อสารช่องทางไหน ให้เด็กเยาวชนเข้าถึง และสามารถตอบสนองกับเราได้มากที่สุด หลังจากการสำรวจก็ทำให้เกิดกิจกรรมและการทำสื่อคลิปวีดีโอเผยแพร่ผ่านช่องทาง Tiktok เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการส่งเสริมสร้างสรรค์ผลงานดนตรีในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าสะท้อนออกมาเพื่อสื่อสาร บุหรี่ไฟฟ้าไม่ว่า คุณจะจับ จะสูบ ที่ไหนของประเทศนี้ ไม่ใช่สิทธิ์ของคุณ นอกจากคุณไม่รักตัวเอง คุณยังไม่รักคนอื่นด้วย ดังนั้นเรามาหยุดและสร้างสังคมสุขภาวะที่ปลอดบุหรี่ไฟฟ้าไปพร้อมกัน

Young Talks เครือข่ายพลเมืองนักสื่อสารสุขภาวะ

ประเด็น การเงิน การศึกษา เยาวชน
วิษณุ เมทา
กลุ่ม โครงการ เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องยาก จังหวัดตาก

            การเงิน เรื่องเงินๆทองๆ ไม่เข้าใคร ออกใคร ผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้ เด็กๆต้องศึกษา สังเกตุเกือบทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นคือ ปัญหาทางการเงิน และในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยี ก็เริ่มเติบโต สื่อต่างๆก็ทำให้เด็กๆและวัยรุ่น เริ่มคิดแกรม(แบรนเนม) มากขึ้น จึงทำให้เกิดความโลภในผู้คนมาขึ้น จึงเกิดช่องโหว่ในใจคน เลยทำให้ อยากรวยเร็ว อยากมีบ้านหรู่ อยากมีรถแพง อย่างที่เห็นเว็บพนัน อะไรต่างๆก็เพิ่มมากขึ้น การศึกษา นี้คือสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ กันตั้งแต่เด็ก ความรู้คือเกาะป้องกัน กับดักต่างๆ ที่เข้ามาจูงใจ ให้ผู้คนหลงผิดไปเป็นหนี้เป็นสินมากมาย การศึกษาเรื่องการเงินจึงจำเป็นมากๆ มีผู้คนเคยบอกเด็กๆว่า เรื่องเงินเรื่องทองเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ผ่านการเป็นเด็กมาก่อน และสิ่งที่เขาได้เรื่องรู้ด้านการเงินในยุคแต่ละยุคแทบไม่ต่างกันเลย ไม่ว่าจะเป็น Gen Babyboomers ,Gen X ,Gen Y ,Gen Z ,Gen Alpha คือ อดออม ประหยัด จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย แล้วเอาไปฝากธนาคาร แล้วไม่มีการอธิบายเลยว่า ฝากเผื่ออะไร ฝากแล้วจะได้อะไร ไม่มีการเรียนรู้การบริหารจัดการเงินเลย แต่เทียบกับต่างประเทศแล้วการศึกษาเรื่องการเงิน เขาให้ความสำคัญมากๆ ในระดับปฐม มัธยม เป็นต้นไป ยกตัวอย่าง อเมริกา หลายรัฐมีการบรรจุหลักสูตรด้านการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) และการลงทุนเบื้องต้นไว้ในหลักสูตรมัธยมศึกษา นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับงบประมาณ การออม การใช้บัตรเครดิต และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ภาษี และการเคลื่อนไหวทางการเงินโลก เริ่มมีการเป็นแปลงไปในทิศทางต่างๆอย่างรวดเร็ว การศึกษาไทยก็ต้องยกระดับเรื่องการศึกษาเข้ามาในระดับปฐม และมัธยมให้มายิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มกรอปความรู้เรื่องการเงินให้มากยิ่งขึ้น
           เยาวชน จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับ GDP ของประเทศและการรู้เท่าทันสื่อและแรงจูงใจ ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพนัน การหลอกลวงต่างๆ การศึกษาจึงสำคัญมากๆ

Young Talks เครือข่ายพลเมืองนักสื่อสารสุขภาวะ

ประเด็น บุหรี่ไฟฟ้าไม่เท่ห์  เทสุขภาพ
เพชรลดา ศรัทธารัตนตรัย
เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง

         ในสถานการณ์ปัจจุบันแม้ว่าทางรัฐบาลจะมีการออกมาประกาศและทำการจัดการบุหรี่ไฟฟ้าอย่างจริงจัง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดได้ และอาจส่งผลกระทบต่อเยาวชนในอนาคตข้างหน้าที่ร้ายแรงขึ้น เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้า ณ ปัจจุบันยังสามารถเข้าถึงได้ง่ายในเด็กและเยาวชน อีกทั้งยังมีการจัดการที่ไม่ได้มาตราฐาน เด็กและเยาวชนที่พลาดเข้าไปลองปัจจัยเสี่ยงอย่างบุหรี่ไฟฟ้า ก็เปรียบเสมือนเหยื่อคนหนึ่ง อย่าทำให้เรากลายเป็นเหยื่อซ้ำซ้อนจากการจัดการที่ละหลวมของรัฐอีกเลย

-  ในฐานะเด็กและเยาวชน เราก็เป็นกำลังหลักในการออกมาต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเพราะเราเล็งเห็นถึงปัญหาอย่างมหาศาลที่จะเกิดขึ้น
-  เราต้องการให้เด็กและเยาวชนรวมถึงผู้ใหญ่บ้านเมืองตระหนักรู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไม่แพ้บุหรี่มวน
-  อย่างที่เรารู้กันว่า บุหรี่มวนพรากชีวิตผู้คนไปอย่างนับไม่ถ้วน ถ้าหากเรายังปล่อยให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายอีกมันจะกลาย                 เป็นการตัดสินใจผิดพลาดของรัฐซ้ำซ้อน และเราในฐานะเด็กและเยาวชนเราไม่สามารถที่จะจัดการปัญหาเพียงลำพังได้ถ้าหากไร้ความร่วมมือของผู้ใหญ่บ้านเมือง

Young Talks เครือข่ายพลเมืองนักสื่อสารสุขภาวะ

ประเด็น การเสริมศักยภาพเด็กเยาวชน
เกศราพร อ่อนแสง
กลุ่มรักษ์เขาชะเมา

        ถ้านึกถึงระยอง พวกคุณนึกถึงอะไร หลายคนอาจจะมองว่าจังหวัดระยองเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูมากๆ จังหวัดระยองเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ถูกขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาคอุตสาหกรรม ระยองถูกกำหนดเป็นพื้นที่ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มายาวนาน การเกิดขึ้นของเขตอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ทำให้เศรษฐกิจภายในระยองเกิดการเริ่มต้นทางเศรษฐกิจไปในทางที่ดีขึ้น แต่ก็มีผู้คนบางพื้นที่ได้รับปัญหาหลายๆอย่างตามมา รวมไปถึงผลกระทบทางด้านอื่นๆ พื้นที่ทำกินเดิมถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม การขยายตัวของโรงงานทำให้พื้นที่ทำกินลดลง ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ปัญหาความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชน ช่องว่างระหว่างวัย ปัจจัยเสี่ยง และสิ่งเสพติด   การเพิ่มขึ้นของอีสเทิร์นซีบอร์ด ทำให้การเป็นอยู่ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมบางอย่างเปลี่ยนไป จากเดิมคนในชุมชนทำอาชีพเกษตร ก็ปรับเปลี่ยนไปทำงานในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในชุมชน ครอบครัว รวมไปถึงปัญหาความสัมพันธ์ของครอบครัว ปัญหาของเด็กและเยาวชนที่ถูกผลักเข้าสู่โลกออนไลน์ การติดโทรศัพท์ เสพสื่อออนไลน์ในทางที่ผิด การเรียนรู้ที่ช้าลง พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ส่งผลไปถึงทางด้านอารมณ์ พฤติกรรมก้าวร้าว ขาดปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น เชื่อมโยงตัวเองกับชุมชน สังคม น้อยลง มองไม่เห็นปัญหาของชุมชนตนเอง
        จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบให้กับเด็ก และเยาวชน รวมไปถึงคนในชุมชนหลายด้าน เด็กและเยาวชนขาดพื้นที่การเรียนรู้เพื่อที่จะค้นหาและพัฒนาตนเอง รวมไปถึงพื้นที่ที่สามารถเพิ่มศักยภาพให้ตนเอง ขาดพื้นที่ปลอดภัยหรือเซฟโซนที่ไม่ใช่บ้านและโรงเรียน ทำให้ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง ขาดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชีวิต ไม่เห็นพลังของตนเองในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาชุมชน

          ถามว่าแล้วเราจะทำอะไรได้ เราทำได้ และเราก็ทำอยู่ กลุ่มรักษ์เขาชะเมาได้มีการสนับสนุนการทำกิจกรรม พัฒนาศักยภาพ เปิดโอกาส เปิดประสบการณ์ ชวนมองชวนคิด ให้กับเด็กและเยาวชน 4 พื้นที่ กลุ่มมดตะนอย โรงเรียนมัธยมวัดเขาสุกิม วิทยาลัยเทคนิคระยอง โรงเรียนมกุฏเมืองราชวิทยาลัย ซึ่งทั้ง 4 พื้นที่ก็ได้สื่อสารเรื่องราวชุมชนตนเอง มีทั้งชุมชนแหลมรุ่งเรืองที่เป็นพื้นที่ที่อยู่หลังโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนทุ่งควายกิน ชุมชนบ้านนา-ทางเกวียน ชุมชนเขาสุกิม  เราชวนเยาวชนมาเรียนรู้ตัวเองเรียนรู้คนอื่นและเรียนรู้สังคม ใส่สายตาความเป็นพลเมืองที่สามารถลุกขึ้นมาสื่อสารเรื่องราวและปัญหาที่พบเจอในชุมชนของตนเองได้ และยังมีการพัฒนาศักยภาพแกนนำเด็กเยาวชนในพื้นที่กลุ่มรักษ์เขาชะเมาให้สามารถออกแบบกิจกรรมเรียนรู้สำหรับเด็กได้ โดยมีพื้นที่ให้พวกเขาได้มาแสดงศักยภาพ ไม่ว่าเป็นงานวันเด็ก Young Play เพลิน กิจกรรมเปิดพื้นที่ลานเล่นสร้างสรรค์ในพื้นที่ต่างๆ เป็นต้น นอกจากแกนนำเยาวชนเรายังมีคนในชุมชนเป็นส่วนนึงสนับสนุนมาและร่วมสื่อสารเรื่องราวใขชุมชนของตนเอง
          เยาวชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป พัฒนาตนเอง มองเห็นคุณค่าของตนเอง สามารถสื่อสารเรื่องราวของชุมชนตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีมุมมองใหม่ในการรู้จักชุมชน เห็นชุมชนในอีกมิติหนึ่ง ไม่ใช่แค่เรื่องท่องเที่ยวหรือธรรมชาติ แต่เห็นความเป็นจริงของชุมชน เยาวชนดึงทักษะของตนเองออกมาถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ พวกเขาเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและยังสร้างความภาคภูมิใจให้กับชุมชนได้ พวกเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และนำความรู้ความสามารถนั้น มาใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคมให้ดียิ่งขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ